25
Mar
2018
0
สัมภาษณ์งาน

ตอนไปสัมภาษณ์งาน ควรแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษอย่างไร?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาวิธีหรือการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษที่จะนำมาใชในโอกาสต่างๆ ในเรื่องของการแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นเรื่องทำสำคัญมากๆ เรื่องหนึ่งเลยนะครับ โดยบทความนี้จะเน้นไปที่การใช้งานจริงในชีวิตประจำวันนะครับ ซึ่งหลังจากความพยายามของเพื่อนนั้นได้สัมฤทธิ์ผล หลังจากที่ทยอยส่งอีเมลล์ก็แล้ว เดินไปสมัครงานหลายต่อหลายที่ก็แล้ว วันนี้เพื่อนๆก็ได้รับข่าวดีให้ไปสัมภาษณ์งาน แต่เอ๊ะ ในอีเมลล์เค้าบอกไว้ด้วยว่า จะมีการสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษด้วย ไม่เป็นไร ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องกลัว วันนี้ เรามีคาถากันภัย หากเพื่อนๆ จะต้องแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ เอาล่ะเราเริ่มกันเลย

ในการที่เราจะเริ่มแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษนั้นอันดับแรกนั้นให้เริ่มที่ข้อมูลส่วนตัวของตัวเราก่อนนะครับ เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ การศึกษาว่าจบอะไรมาจากที่ไหน ต่อด้วยประวัติการทำงาน(ล่าสุด) แบบย่อ ๆ แต่หากเพื่อนๆเพิ่งจบ ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานก็สามารถเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมที่เพื่อนๆทำตอนที่อยู่มหาวิทยาลัยก็ได้ หรือหากได้มีโอกาสไปฝึกงานก็สามารถบอกได้เช่นเดียวกัน
เกริ่นนำการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษด้วยประโยคดังนี้

Good morning. (ทักทาย) / อรุนสวัสดิ์ครับ

May I introduce myself? (ขออนุญาต) / ผมขออนุญาตแนะนำตัวเองนะครับ

My name is Somkid Naruk. (บอกชื่อของเราเอง) / ผมชื่อสมคิด น่ารัก

I’m the marketing manager from ABC Company. (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเรา) / ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดจากบริษัทเอบีซี

Nice to meet you. (แสดงความยินดีที่ได้เจอกัน) / ยินดีที่ได้รู้จัก

ในส่วนของข้อมูลเพิ่มเติมนั้นเพื่อนๆ อาจจะปรับปรุงหรือแก้ไขให้เหมาะสมสำหรับสถานณ์การที่เพื่อนๆต้องการแนะนำตัวกันนะครับ

สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ

สำหรับคนที่ทำงานแล้วไปแล้วนั้นหลักจากที่เราได้นำนำตัวเองเสร็จไปเรียบร้อยนั้น บางที่ผู้สัมภาษณ์อาจจะมีคำถาม (คำถามสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ)เกี่ยวกับการทำงานของเพื่อนๆอย่างละเอียด หากเป็นเช่นนั้น แนะนำให้เพื่อนๆจัดลำดับการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเพื่อนๆ โดยเริ่มจาก งานปัจจุบันไปจนถึงงานแรกของเพื่อนๆ ซึ่งหลักจากที่ผ่านส่วนของการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษไปแล้วนั้นผู้สัมภาษณ์งานร้อยละ 99 อาจจะมีคำถามประมาณว่า “ทำไมถึงลาออกจากบริษัทเก่า” อย่าลืมเตรียมคำตอบสวย ๆ ไปด้วยล่ะ ไม่ว่าความจริงที่ทำงานเก่าจะเละเป็นโจ๊กแค่ไหนแต่เราก็ไม่สมควรที่จะเอาออกมาประจาน คำตอบของคำถามประเภทนี้ก็อย่างเช่น “อยากเรียนรู้งานในสายธุรกิจนี้เพราะมีความสนใจธุรกิจนี้มานานแล้วแต่ยังไม่มีโอกาสศึกษา” เป็นต้น

บางครั้งเพื่อนๆ อาจจะเจอคำถามลองภูมิ ประเภททีว่า “ทำไม่เราถึงต้องรับเพื่อนๆเข้าทำงาน” หรือ “ทำไมเพื่อนๆถึงคิดว่าตัวเองเหมาะสมกับตำแหน่งนี้” แนะนำว่าให้หาข้อดีทั้งหมดที่มีของเพื่อนๆมาตอบ ไม่ว่าจะเป็น ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน ละเอียดรอบคอบ เรียนรู้งานเร็ว อะไรก็ว่าไป หรือแม้แต่นำประสบการณ์ในการทำงานมาช่วยอ้างอิงคำตอบนี้ก็จะทำให้คำตอบของเพื่อนๆมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น หรือจะหากสาขาที่เพื่อนๆเรียนจบมาช่างตรงกับงานที่เพื่อนๆกำลังสัมภาษณ์อยู่ละก็ อย่าลืมที่จะใช้โอกาสนี้เพื่อเป็นใบเบิกทางให้ตัวเองล่ะ

คำถามจิตวิทยา เช่น ไหนลองบอกข้อดีข้อเสียของคุณมาอย่างละ 5 ข้อ สิ แหม่ ไอ้การจะบอกแต่ข้อดีอย่างเดียวก็คงไม่มีใครเชื่อ เพราะคงไม่มีใครไม่มีข้อเสียหรอก แต่เพื่อนๆ ลองบอกข้อเสียที่จะว่าไปก็เป็นข้อดีได้เหมือนกันสิ เช่น “คุณเป็นพวกรักความสมบูรณ์แบบเอามาก ๆ และยอมไม่ได้หากจะมีอะไรไม่สมบูรณ์แบบสักหน่อย” หรือ “คุณเป็นดื้อ หากตั้งใจจะทำอะไรที่คุณคิดว่าดีแล้ว คุณจะเพียรพยายามทำจนมันสำเร็จ เพื่อให้คนอื่นเห็นว่า สิ่งที่คุณคิดและพยามทำนั้นมันดี และมีประโยชน์สำหรับทุกคน ถ้าเพื่อนๆแนะนำตัวแบบนี้แล้วบริษัทไหนไม่อยากได้เพื่อนๆก็ไม่ต้องเสียใจไปหรอก เพราะพวกเขาน่ะ มีบุญไม่พอที่จะได้เพื่อนๆเข้าไปทำงานด้วย

ในเรื่องของการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษนั้นเพื่อนๆ ลองนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องของการที่เราจะไปพรีเซ็นงาน หรือการนำเสนองานหน้าห้องเรียนซึ่งแน่นอนครับว่าถ้าหากเรามีการเริ่มต้นที่ดีแล้วนั้นส่วนต่อๆ ไปเดี๋ยวก็จะตามมาเองแหละครับ ในส่วนอื่นๆเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการสัมภาษณ์งานนั้นเพื่อนๆสามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของเราได้เลยนะครับ หรือถ้าหากว่าใครมีข้อสงสัยอะไรตรงไหนก็คอมเม้นทิ้งไว้ได้เลยนะครับ


ขอขอบคุณ บทความจาก engfocus.com

You may also like

ฟันโยก ฟันงอก ฟันหลุด ในภาษาอังกฤษ
ฟันโยก ฟันงอก ฟันหลุด ในภาษาอังกฤษ
have กับ have got ใช้ต่างกันอย่างไร?
have กับ have got ใช้ต่างกันอย่างไร?
คำว่า Closet กับ Wardrobe ใช้ต่างกันอย่างไร ?
คำว่า Closet กับ Wardrobe ใช้ต่างกันอย่างไร ?
How come แตกต่างจาก Why อย่างไร
How come แตกต่างจาก Why อย่างไร

Leave a Reply